ยินดีต้อนรับ! เข้าสู่เว็บบล็อก คราฟ :) ขอบคุณสำหรับการแวะเข้ามาเยี่ยมชม!!

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หน่วยที่ 10

หน่วยที่  10  แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน


แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

        การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 21 แนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงการประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย

       ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอด และมีการพัฒนาต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้ เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องสนใจที่จะศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้ 

              1.  คอมพิวเตอร์ (computer) มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล

              2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI  เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิด แก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง

             3.  อินเทอร์เน็ต (internet)  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก มีการใช้งานหลากหลายรูปแบบอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่

             4.  ระบบเครือข่าย (networking system)  โดยเฉพาะระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (local area network : LAN) เป็นระบบสื่อสารเครือข่ายที่ใช้ในระยะทางที่กำหนด ส่วนใหญ่ภายในอาคารหรือในหน่วยงาน LAN จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

              5. การประชุมทางไกล (teleconference)  เป็นการนำเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อให้สนับสนุนในการประชุมมีประสิทธิภาพ โดยผู้นำเข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในห้องประชุมและพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง


แนวโน้มใน ด้านบวก  
1. การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 

2. การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
4. การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
5. การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ
6. การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen


แนวโน้มใน ด้านลบ  
1. ความผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 

2. การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
3. การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์


ระบบปัญญาประดิษฐ์  
      
 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการตอบสนองกับความต้องการของ มนุษย์ได้ ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ มีความเข้าใจภาษามนุษย์ รับรู้ได้และตอบสนองด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรมและภาษามนุษย์


ปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่างๆ ได้แก่ 

1.ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 

2.โครงข่าย ประสาทเทียม (Artificial Neural Network)
3.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
4.ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (Robotics)


ภาษาธรรมชาติ (Natural Language) 

       ภาษาธรรมชาติกับการประยุกต์ใช้ภาษาไทยบน คอมพิวเตอร์ เป็นนำวิทยาการด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาษา ธรรมชาติมาพัฒนาโปรแกรมประมวลผลภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้งานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย การประมวลผลตัวอักษร (Character) คำ (Word)ข้อความ (Text) ภาพ (Image) และความรู้ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistics)
 

โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network)

       การสร้างคอมพิวเตอร์ที่จำลองเอาวิธีการทำงานของสมองมนุษย์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำในแนวเดียวกับโครงข่ายประสาทของมนุษย์ เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ฟังภาษามนุษย์ได้เข้าใจ อ่านออก และรู้จำได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น สมองกล


เทคโนโลยีการสื่อสาร ทุกที่ ทุกเวลา

      ยูบิควิตัสเทคโนโลยี (Ubiquitous technology) สังคมยูบิควิตัส (Ubiquitous society) หรือ ยูบิคอมบ์ (Ubicomp) เป็นทำให้เกิดสภาพแวดล้อมของการสื่อสารใหม่และเป็นแนวโน้มของสังคมสารสนเทศ ยูบิควิตัส เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือ มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มาร์ค ไวเซอร์ (Mark Weiser) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ของบริษัท Xerox ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม "ยูบิควิตัสคอมพิวติง" ไว้ว่า เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่ง-สภาพแวดล้อมที่สามารถใช้ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด 


จุดเด่นของยูบิควิตัส ได้แก่  

1.         1.  การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งาน จะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ 
2.  การ สร้างสภาพการใช้งานโดยผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่  
3. การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้ง สถานที่ อุปกรณ์ ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ


 เทคโนโลยีสารสนเทศ กับการศึกษา

       เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กับการศึกษาได้แก่ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือCAI (Computer Aided Instruction) เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้รูปการเรียนที่จำกัดด้วยชั้นเรียน ขนาดเล็กกลายเป็นการเรียนด้วยระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา (tele-education) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและได้รับความนิยมมากขึ้นจึงได้ พัฒนาเป็น การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ WBI (Web Based Instruction) หรือ WBL (Web Based Learning) และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเป็นสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning (Electronics Learning)
e-Learning คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การ


ทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ  

     Virtual Library หรือห้องสมุดเสมือน เป็นรูปแบบการให้บริการอีกช่องทางหนึ่งของห้องสมุดในปัจจุบัน โดยให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในห้องสมุดเสมือนได้ ข้อมูลที่ให้บริการจะอยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล ทำให้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถเข้าสู่ข้อมูลที่ให้บริการได้จากทุกแห่ง
บริการของ Virtual Library ได้แก่ บริการสืบค้นข้อมูลรายการทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog-OPAC) บริการฐานข้อมูลออนไลน์ บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการแนะนำสารสนเทศที่น่าสนใจ


นาโนเทคโนโลยี อาณาจักรจิ๋ว นวัตกรรมแห่งอนาคต 
 
          นาโทเทคโนโลยี กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับชีวิตประจำวันของเราและเป็นที่กล่าวขานกัน อย่างมากในขณะนี้ คำว่า "นาโน (nano)" แปลว่า ในพันล้านส่วน เช่น นาโนวินาที เท่ากับ 10ยกกำลัง-หรือ 0.000000001วินาที นาโนเมตร เท่ากับ 1/1,000,000,000 เมตร หรือ 0.000000001 เมตร
          นาโนเทคโนโลยี คือ การทำให้โครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลขนาดระดับ 1ถึง 100 นาโนเมตร กลายเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์นาโนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาใช้สอยได้ ซึ่งต้องอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ของระบบที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอม โมเลกุล กับวัตถุขนาดใหญ่ และสามารถควบคุมคุณสมบัติทั้งหลายได้

ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยี 

1.วัสดุ ฉลาด (Smart materials) 
2.ตัวรับรู้ หรือเซ็นเซอร์ (Sensors) 
3.โครงสร้างชีวภาพขนาดนาโน (Nanoscale Biostructures) 
4.คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม  
5. คอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ


แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต

  1. ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคลมวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย

 2. เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเลือกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนำ  คอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย

3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการ เอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส


นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่เกิดขึ้นใหม่

1.  Ubiquitous Learning คือ การเรียนรู้รอบทิศทางโดยอาศัยเครือข่ายไร้สายในการศึกษาทั้ง Mobile Learning, Tablet, WiFi เป็นต้น

2. Video streaming คือการให้บริการ สื่อมัลติมีเดียประเภท วิดีโอ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี streaming ซึ่งคล้ายกับ radiostreaming แต่แตกต่างตรงที่เปลี่ยนจากประเภท เสียง เป็นการเผยแพร่ประเภท วิดีโอ โดยถ้าจะให้มองเห็นภาพของ วีดิโอ สตรีมมิ่งชัดเจน ขึ้น ให้มองถึงการถ่ายทอดสด หรือรายการที่ออกอาการทางโทรทัศน์ ซึ่งวีดิโอ สตรีมมิ่ง จะมีลักษณะเดียวกัน แต่เปลี่ยนมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต

3. Hybrid Learning / Blended Learning คือ การเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง e-Learning และ ชั้นเรียนในสัดส่วน online 30-79%

4. HyFlexLearning คือ การเรียนการสอนผสมผสานแบบยืดหยุ่นที่ให้ผู้เรียนมีทางเลือกด้วยตนเอง ออกแบบการเรียนด้วยตนเองทั้ง การเรียนการสอน ออนไลน์เผชิญหน้าหรือค้นคว้าด้วยตนเองตามแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหา


รัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์  
          รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่อข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐ ปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน บริการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ประชาชนได้รับการบริการจากภาครัฐที่ดีขึ้น มีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น อีกทั้งทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศได้ดีขึ้นด้วย
      ที่มารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ของไทย โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการโดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในระยะ ปี ดังนี้

1.การให้บริการต่อสาธารณะ โดยจะผลักดันเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ  
1.การ ให้บริการข้อมูลที่ดี มีมาตรฐาน และคุณภาพแก่สาธารณะ อันได้แก่ ประชาชน ภาคธุรกิจ และ ภาครัฐ 
2.การให้ บริการที่ดีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น ท. คือ ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา  

2.การบริหารจัดการของรัฐ 
1.การ บริหารจัดการด้านการเงินระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ 
2.การจัดซื้อจัดจ้างผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่รวด เร็ว โปร่งใส ยุติธรรม
3.การ บริหารข้อมูลและทรัพยากรภาครัฐ

3.การติดต่อสื่อสาร และประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ 
1.ภายในและระหว่าง กระทรวง 
2.ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรส่วนท้องถิ่น


ตัวอย่างของรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 

1. การติดตามแกะรอยคนร้าย ปัจจุบันมี ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ
   (1) ระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากร หรือ CDOS (Criminals Database Operating System
   (2) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ หรือ AFIS (Automated Fingerprint Identification System)
   (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย หรือ PICASSO (police Identikit: Computer Assisted Suspect Sketching Outfit) 

2. ระบบสารสนเทศสำหรับงานประปา บริการเบ็ดเสร็จภายในคราวเดียว คือ จดมาตรจำนวนการใช้น้ำ พิมพ์ใบแจ้งหนี้ และส่งให้ลูกค้าได้ทันที โดยใช้เวลาทั้งสิ้นไม่เกิน10 นาที ผู้ใช้บริการสามารถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระเงินที่สาขาของการประปานครหลวง หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือที่ Counter Service หรือชำระผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต  

3. การยื่นแบบแสดงและชำระภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต เข้าสู่ระบบได้ที่ www.rd.go.th
มีบริการ แบบ คือ              
     (1) การบริการแบบฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้  
     (2) การยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต  

4.จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การประมูลแบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไวต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ คือ www.gprocurement.go.th หรือเว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดประมูล  

5.ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะผ่านอิน เทอร์เน็ต บริการด้านงานทะเบียนราษฎรผ่านทางอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ www.dopa.go.th  และwww.khonthai.com ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

6.บริการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอินเทอร์เน็ต กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เริ่มเปิดให้บริการค้นหาข้อมูลธุรกิจ และการทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์  www.thairegistration.com 

7.การบริการต่อทะเบียนรถ และชำระภาษีรถผ่านอินเทอร์เน็ต กรมการขนส่งทางบก มุ่งเน้นที่จะให้บริการประชาชนในรูปแบบออนไลน์ บริการได้ทันทีทันใด ทั่วไทย แบบOne-Stop-Service โดยสามารถเข้าไปใช้บริการผ่านเว็บไซต์ www.dlt.moct.go.th   

8.การ จัดทำหนังสือเดินทาง กองหนังสือเดินทาง กรมการกงศุล กระทรวงต่างประเทศ ได้เชื่อมโยงข้อมูลบุคคลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง เพื่อใช้ในการตรวจสอบหลักฐานการขอทำและขอต่ออายุหนังสือเดินทาง โดยประชาชนสามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเป็นหลักฐานประกอบการขอทำ หนังสือเดินทางได้โดยไม่ต้องนำเอกสารมามากมายเหมือนที่ผ่านมา


e-Citizen  

e-Citizen ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ส่วน ได้แก่  
1. Citizen e-DB ฐานข้อมูลประชาชน
2.Citizen e-ID การพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล 
3.Citizen e-Service การบริการประชาชน


ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 

1.เพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานของหน่วยงานรัฐ
2.เพิ่มคุณภาพในการบริการประชาชนให้สะดวกรวดเร็ว
3.สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานและให้บริการ
4.ลดต้นทุนการดำเนินงานและการให้บริการของหน่วยงาน ภาครัฐ
5.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 

หน่วยที่ 9

  หน่วยที่  9
          การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
                                                
                                                        



การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
              เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
               - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
                - การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
               - อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
               - วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
               - ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
               - การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
               - อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา
                - งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา
               - งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
               - งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
               - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
               - งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ

ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
             เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็นฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ  เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
              เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้
               - ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
               - การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
               - สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
               - เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
               - เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
               - ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
             กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น


ประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม
              เทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมในปัจจุบันก้าวไกลไปมาก มีบริการมากมายที่ทันสมัยและตอบรับกับการนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบันนี้ก็มิไดมีไว้เพียงสำหรับคุยสนทนาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มันสามารถช่วยงานได้มากขึ้น โดยอ้างอิงข้อมูลและการเปิดให้บริการของบริษัท มีติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งภาพและเสียง มีโทรศัพท์มือถือรุ่นต่าง ๆ ออกมามากมาย พัฒนาทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เช่นเทเลคอม เอเชีย คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้วางแผนการก่อสร้าง และติดตั้งขยายบริการโทรศัพท์พื้นฐาน 2.6 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงการซ่อมบำรุงรักษาเป็นระยะเวลา 25 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการในปัจจุบัน

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์
             การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการออกแบบ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ ( CAD : Computer Aided Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสินค้า และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต ( CAM : Computer Aided Menufacturing ) เช่นควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน

ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน
             ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผลคะแนนเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น งานเหล่านี้ได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อทำให้ได้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และยังตอบสนองกับการบริหารยุคใหม่ที่ต้องใช้ข้อมูลเป็นหลักในการบริหารจัดการ


             กล่าวโดยสรุปคือ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ เกือบทุกวงการ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของบุคคลหรือองค์กรใด ๆ ก็ตาม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหน่วยงานด้านการศึกษาก็มีความตื่นตัวและเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าว ทั้งในระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา และเป็นสาขาวิชาที่มีนักศึกษา ให้ความสนใจ กันมากเนื่องจากยังมีตลาดแรงงานรองรับมากนั่นเอง

หน่วยที่ 8

หน่วยที่  8   เครือข่ายอินเตอร์เน็ต


หน่วยที่ 8
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต







ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

        อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสาร ข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่ายโดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูป แบบเช่น ส่งเป็นแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงโดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อ เครือข่ายการเชื่อมโยงเครือข่ายจะใช้เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สัญญาณไมโครเวฟ และสัญญาณจากดาวเทียม เป็นต้น ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่ หนึ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็วอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นที่รวมทั้งบริการ และเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภทจึงกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญ อย่างหนึ่งในการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
       
       อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล์ เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
        อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริง เครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเอง อย่างเป็นอิสระ โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว อินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ สมาคมอินเทอร์เน็ต ISOC (Internet Society)ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ต ระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยี เพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัคร ร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด
    
       อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
    
      ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต
จุดกำเนิดของอินเตอร์เน็ตเริ่มในทศวรรษที่ 1960 ในสมัยนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe) อย่างแพร่หลาย ส่วนคอมพิวเตอร์แบบพีซียังไม่มี ความคิดที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทั้งระยะใกล้และระยะไกลนั้นเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น และเนื่องจากยุคนั้นเป็นยุคของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเห็นว่าการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์ถือได้ว่ามีประโยชน์ด้านทหาร
เพื่อให้ความคิดนี้เป็นจริง ดังนั้นในปี ค.ศ 1968 หน่วยงานที่ชื่ออาร์พา (Advance Research Project Agency , ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (U.S Department of Defense, DOD) จึงมีโครงการที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ
สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SRI International)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles(UCLA))
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา(University of California, Santa Barbara(UCSB))
มหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah)


องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายระดับโลก เป็นเครือข่ายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์จำนวนมาก จึงมีรูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลเฉพาะของตนเอง องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี ส่วนดังนี้

1.ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิทัล และลำโพงเป็นต้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย แบ่งเป็น กลุ่ม คือ
1.1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยทั่วไปต้องเป็นเครื่องคุณภาพสูง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูล จำนวนมาก
1.2 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่รับ-ส่งข้อมูลมากจากเครื่องแม่ข่าย อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องแลปท็อป ฯลฯ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ก็จัดเป็นเครื่องลูกข่ายทั้งสิ้น

2. ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) หมายถึงอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือส่วนกลางกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เป็นช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล ประกอบด้วย2.1 โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณข้อมูลระหว่างอะนาล็อกและดิจิทัล ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อนาที (bps) โมเด็มที่มีอัตราความเร็วบิตต่อนาทีสูง เช่น 512 mbps จะรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าโมเด็มขนาด 128 mbps
2.2 สายโทรศัพท์ (Telephone) หมายถึง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถนำเอาสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องสำหรับเสียบสายเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์
2.3 สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) เป็นสายสัญญาณอีกชนิดหนึ่งที่ทำจากเส้นใยพิเศษที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไป
2.4 คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microwave and Satellite) เป็นระบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟรับ-ส่งสัญญาณแบบไร้สายจากดาวเทียม

3. มาตรฐานการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Control/Internet Protocal) หมายถึง    มาตรฐานที่ใช้ควบคุมและกำหนดเงื่อนไขในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
3.1 มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal)เป็นโพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2 มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
3.2 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล

4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) ได้แก่โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer , Mozilla Firfox , Netscape Navigator และOperaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือนอ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ

5. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) หมายถึงหน่วยงาน หรือ องค์กร ผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ระดับประเทศนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่าง ๆ  สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสำคัญหรือรายใหญ่ที่สุด ของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท.

           การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต

การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีหลายแบบดังนี้

1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (E-mail หรือ Electronic mail) บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิมพ์จดหมายในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งผ่านสายโทรศัพท์ หรือสายแลน ในองค์กรไปให้ผู้รับโดยไม่ใช้แสตมป์ และส่วนใหญ่จะถึงผู้รับในเกือบทันที สามารถส่งภาพ หรือเสียง แม้แต่แฟ้มวีดิโอได้

2. เว็บไซต์ (Web site) และบริการสืบค้น (Search engine) นายเบอร์เนอร์ ลี แห่งองค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือ เซิร์น ได้พัฒนาโพรโทคอล ชื่อ เอชทีทีพี (HTTP)
ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2533 ทำให้เกิดบริการเวิลด์ ไวด์ เว็บ(WWW : World Wide Web)ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเว็บไซต์อย่างทุกวันนี้เมื่อต้องการข้อมูลก็เข้าไปยัง
เว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลได้ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสะดวกและเร็ว ปัจจุบันเว็บไซต์สำหรับให้บริการ สืบค้นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ www.google.co.th ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ทราบว่าเว็บใดมีข้อมูลตามคำสำคัญ (Keyword)ที่ระบุ โดยค้นหาได้ทั้งข้อมูลประเภทเว็บไซต์ ภาพ และแฟ้มข้อมูลเว็บไซต์ (Web site)หมายถึง แหล่งรวมเว็บเพจทั้งหมด
โฮมเพจ (Home page) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรก โดยปกติจะหมายถึงแฟ้มindex.htmlเว็บเพจ (Webpage) หมายถึง หน้าเอกสารข้อมูลแต่ละหน้า ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น กระดานข่าว ข้อมูลหลักสูตร หรือข้อมูลบุคลากร เป็นต้น

3. ไออาร์ซี (IRC – Internet relay caht) เป็นบริการที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถคุยผ่านคอมพิวเตอร์พร้อมกันได้หลายคน หรือคุยกันเพียง คนก็ได้ โดยเลือกห้องสนทนา

4. วินโดว์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger) ผู้ใช้มักเรียกสั้นๆว่า เอ็มเอสเอ็น หรือ เอ็ม ตามชื่อเดิม วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ โปรแกรมเอ็มเอสเอ็นมีฟังก์ชันหลายอย่าง เช่น Sharing folders ใช้สำหรับแบ่งปันข้อมูลหรือไฟล์ที่ต้องการให้กับบุคคลที่ต้องการโดยการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมา

5. พาณิชย์อิเล็กทรกนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้ประโยชน์จากอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินในปัจจุบัน เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมทางไกล เป็นต้น

6. การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning หรือ Electronic learning) บริการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนหนังสือโดยไม่จำเป็นต้องไปนั่งในชั้นเรียนแต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ จะเรียนที่ไหน (Anywhere) เมื่อใด (Anytime) ก็ได้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นขั้นตอนตามบทเรียนรู้ หากสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามจนเข้าใจและมีการสอบวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้

7. ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking หรือ Electronic Banking) เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร หรือหน่วยงานอื่น ๆ โดยใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยมากขึ้น นอกจากการไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคารหรือ การทำรายการจากตู้เอทีเอ็ม ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับติดต่อเพื่อชำระค่าสินค้า และบริการ ธนาคาร หลายแห่งให้บริการโอนเงินระหว่างบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ต บริการตรวจสอบยอดบัญชีเงินฝาก หน่วยงานนาชกาบางแห่ง เช่น กรมสรรพากรเปิดให้มีการยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 91 ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างมาก

8. โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต (Internet Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นแพ็กเกตข้อมูลเพื่อส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนข้อมูลอื่น คุณภาพเสียงมีความชัดเจนเหมือน
โทรศัพท์บ้านปกติ เป็นบริการที่มีราคาถูก โดยเฉพาะการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศเพราะไม่ต้องชำระค่าบริการเป็นรายนาที หรือรายชั่วโมง หากแต่เป็นการใช้โปรแกรมโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น Skype หรือ Net2Phone เป็นตัวกลางในการสื่อสาร จึงชำระเฉพาะค่าบริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

9. เกมส์ออนไลน์ (Game Online) ปัจจุบันเกมส์คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาก ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมเกมส์จากร้าน มาติดตั้งในเครื่องอีกต่อไป เพราะสามารถเลือกเล่นเกมส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ทันที ซึ่งก็มีเว็บไซต์ที่ให้บริการจำนวนมาก

10. ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย (Software Updating) ปัจจุบันเมื่อซื้อโปรแกรมมาใช้งาน ผู้ใช้สามารถปรับปรุง
หรืออัพเดท (update) ซอฟต์แวร์โปรแกรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เพราะโปรแกรมต่าง ๆ มักมีการปรับปรุงเสมอ

11. บริการกระดานข่าว (Usenet news) เป็นบริการที่มีมาตั้งแต่ยุคแรกของอินเทอร์เน็ต และยังมีการให้บริการอยู่จนปัจจุบัน
แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ทราบ เพราะการใช้งานกระดานข่าวในเว็บไซต์สะดวกกว่า สำหรับกระดานข่าวที่ได้รับความนิยมของไทยคือ www. soc.culture.thai ถ้าต้องการคำตอบที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย เมื่อส่งคำถามไปที่ www.news:soc.culture.thai
อาจจะมีคนตอบและตรงตามความต้องการ ปัจจุบันโปรแกรมที่นิยมนำมาใช้อ่านusenet news คือ Outlook expressถ้าใช้ เบราว์เซอร์ไออี (IE : Internet explorer) เมื่อพิมพ์ new:soc.coulture.thai จะเป็นการเปิดโปรแกรม Outlookและ download หัวข้อข่าวจากเครื่องบริการข่าว

12. เอฟทีพี (FTP – File Transfer Protocol) เอฟทีพี คือ การรับ-ส่งแฟ้มไปยังเครื่องให้บริการ โปรแกรมเอฟทีพี
ที่นิยมใช้คือ WS_FTP และ CUTE_FTP ที่ทำให้การส่งแฟ้มหลายแฟ้มไปยังเครื่องบริการได้สะดวกต่างกับการ Upload
หรือ Download แฟ้มที่จำกัดจำนวนแฟ้มในการส่งต่อครั้ง

13. เทลเน็ต (Telnet) หรือเอสเอสเอช เทลเน็ต (Ssh Telnet) เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อเข้าไปทำงานในเครื่องบริการ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ หรือลีนุกซ์ ปัจจุบันการใช้โปรแกรมนี้เริ่มลดลง เพราะมีจุดด้วยเรื่องความปลอดภัย วิธีแก้แก้ไขคือ ใช้โปรแกรม Ssh (Secure Shell) ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง ทำให้ผู้ลักลอบไม่สามารถเห็นข้อมูลที่แท้จริง


14. สังคมเครือข่าย (Social Network) คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จักและเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง สำหรับเว็บไซต์ที่จัดเป็นเว็บสังคมเครือข่ายหมายถึง เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเว็บไซต์สังคมเครือข่าย เช่น ไฮไฟว์ (Hi5)และเฟชบุ๊ค (Facebook)

        การค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

การค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมีวิธีทำ ดังนี้

1. การสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่องมือค้นหา หรือ เชิร์จ เอนจิ้น (Search Engine)
เครื่องมือค้นหาหรือเซิร์จ เอนจิ้น (Search Engine) เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรม
ในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ โดยการรวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นำมาจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การค้นหาข้อมูลด้วยเซิร์จ เอนจิ้นเพียง พิมพ์คำสำคัญ หรือคีย์เวิร์ด (Key Word) ที่ต้องการค้นหา
และกดปุ่ม Seach ประโยชน์ที่ได้รับจาก เซิร์จ เอนจิ้น คือ ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
สามารถค้นหาแบบเชิงลึกได้ ทั้งข้อมูล รูปภาพ ข่าว MP3 และอื่น ๆ  สามารถค้นหาจากเว็บไซต์
เฉพาะทางที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอฟต์แวร์ เป็นต้น

2. รูปแบบในการค้นหา มี รูปแบบ ดังนี้

2.1 การค้นหาในรูปแบบอินเด็กซ์ ไดเร็กทอรี (Index Directory) วิธีการค้นหาข้อมูลแบบนี้
ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก เพราะได้รับการคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่และ
จัดแบ่งแยกไซต์ต่างๆออกเป็นประเภท วิธีใช้งานสามารถคลิกเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูใน
เว็บเบราว์เซอร์ได้เลยจากนั้นหน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมา
อีกระดับหนึ่งขึ้นมาให้เลือกอีกเมื่อเข้าไปถึงประเภทย่อยที่สนใจแล้วเว็บเพจจะแสดง
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมาถ้าสนใจเอกสารใดก็สามารถ
คลิกเพื่อลิงก์ไปยังเว็บไซต์นั้น โดยจะแสดงผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาทันที

2.2 การค้นหาในรูปแบบเซิร์จ เอนจิ้น (Search Engine) เป็นวิธีการค้นหาข้อมูล
ที่ได้รับความนิยมมาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า ร้อยละ 70ใช้วิธีการค้นหาแบบนี้หลักการ
ทำงานของเซิร์จเอนจิ้นแตกต่างจากการใช้อินเด็กซ์คือเป็นการค้นหาจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่
มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ตไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้น
ของความสำคัญการใช้งาน จะคล้ายกับการสืบค้นฐานข้อมูลอื่น ๆ คือ ต้องพิมพ์คำสำคัญ
(Keyword) ซึ่งเป็นการระบุถึงข้อมูลที่ต้องการค้นหา จากนั้นเซิร์จ เอนจิ้น ก็จะแสดง
ข้อมูลและไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องออกมา

2.3หลักการค้นหาข้อมูลของเซิร์จเอนจิ้นหลักการค้นหาข้อมูลของเซิร์จเอนจิ้นแต่ละตัว
มีลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าศูนย์บริการใช้วิธีการจัดเก็บข้อมูลแบบไหน
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีกลไกในการค้นหาที่ใกล้เคียงกันแตกต่างกันที่ประสิทธิภาพของการ
เก็บข้อมูลว่าจะมีข้อมูลเก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหนและนำเอาออกมาบริการ
ให้กับผู้ใช้ได้ตรงตามต้องการหรือไม่ หลักการค้นหาข้อมูลมีดังนี้

การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ในเว็บไซต์ต่าง ๆ
การค้นหาจากคำที่มีอยู่ในหัวเรื่อง
การค้นหาจากคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด
การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะไซต์
ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วยเบราว์เซอร์

2.4 การใช้งานกูเกิ้ล เซิร์จ (Google Search) กูเกิ้ล เซิร์จ คือ เครื่องมือให้บริการ
ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตประเภทเซิร์จ เอนจิ้น ของเว็บไซต์ Google.com
ผู้ใช้งานต่อเชื่อมเข้าสู่เว็บไซต์ www.Google.com จากนั้นพิมพ์ข้อความหรือคำสำคัญ
(Keyword)เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาแล้วกดปุ่ม Enter กูเกิ้ล เซิร์จก็จะแสดงเว็บไซต์
ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญเหล่านั้นทันที ไม่เฉพาะแต่เพียงการ ค้นหาข้อมูลในรูปของ
เว็บไซต์เท่านั้น กูเกิ้ล เซิร์จยังสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นไฟล์รูปภาพ (Images)
กลุ่มข่าว (News Groups)และสารบบเว็บ (Web Directory) ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

            ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีทั้งผู้ที่มี ความประพฤติดีและไม่ดีซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นอยู่เสมอเครือข่ายบางแห่งจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้ บริการต่าง ๆ บนระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ หากแต่เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันนับพัน นับหมื่นเครือข่าย มีข้อมูลระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆอีกเป็นจำนวนมาก

          ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักว่าปริมาณข้อมูลข่าวสารที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมาก จะต้องใช้งาน อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์จึงจะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม กิจกรรมบางอย่างต้องหลีกเลี่ยงไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายอีเมลขยะจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียสำหรับผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การใช้งานร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข

    ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย   ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้
    1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางกาแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
    2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
    3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
    4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
    5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
    6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
    7. ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
    8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  
    9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
    10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน

ข้อเสียของอินเทอร์เน็ต
ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย   แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ   ดังต่อไปนี้
    1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
    2. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม