ยินดีต้อนรับ! เข้าสู่เว็บบล็อก คราฟ :) ขอบคุณสำหรับการแวะเข้ามาเยี่ยมชม!!

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หน่วยที่ 2

หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 
นวัตกรรม
วสันต์  อติศัพท์ กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หรือ นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง นวและ กรรม”  ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติ คำว่า นวัตกรรม (Innovation) ขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)
Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
กิดานันท์  มลิทอง (2543 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (Instructional Materials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ บทเรียนสำเร็จรูป” “บทเรียนโปรแกรมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม การจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู (Teacher assistant) เป็นต้น

 

ความหมายแนวคิดและทฤษฎีเทคโนโลยีฯ

กิดานันท์  มลิทอง (2543 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
                เคนเนท (Kencth,1955 : 128 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
                หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
                             1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
                                1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
                             1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร   รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ   จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การเรียนรู้(Learning Ecology)
การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางความคิด มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ได้จาก การได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การเห็น รวมถึงผ่านการใช้ สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ เป็นส่วนส่งผ่าน

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
หมายถึงข้อความรู้ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ
ในเรื่องของการเรียนรู้ มีผู้ให้ความหมายของคำว่าการเรียนรู้ไว้หลากหลาย นักการศึกษาต่างมีแนวคิด โดยนำมาจากพัฒนาการของมนุษย์ ในแง่มุมต่างๆ เกิดเป็นทฤษฎีที่แตกต่างกันไป อาทิ

การเรียนรู้ (Learning)
คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein 1991:2)

การเรียนรู้ (Learning)
คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ ( ประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อม)

การเรียนรู้ (Learning)
คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด (สุรางค์ โค้วตระกูล :2539)

การเรียนรู้
คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด และพฤติกรรมนั้นอาจจะคงอยู่ระยะหนึ่ง หรือตลอดไปก็ได้

การเรียนรู้ (Learning)
คือ กระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

ตัวอย่างแนวคิดและทฤษฎีเทคโนโลยีฯ

เช่น
INNOTECH หรือนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
อินโทเทคมี 18 รายการ ดังต่อไปนี้ โดยพวก 11 ข้อแรก จัดเป็น วิธีการและข้อ พวกหลัง จัดเป็น เครื่องมือต่าง ๆ
1. การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)
2. ระบบการเรียนโดยนักเรียนสอนกันเอง นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน (Peer Tutoring)
3. การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Modular Scheduling)
4. การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)
5. การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล (Individually Prescribed Instructing )
6. โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)
7. การเตรียมครูสำหรับโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยลดบทบาทการสอนและสั่งการของครูลง (Non –Traditional Roles of Teachers)
8. โครงการอิมแพ็คท์ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้ปกครอง ชุมชนและครูร่วมกันจัดกิจกรรมให้การศึกษา (Instructional Management by Parents, comminuting and Teachers ; IMPACT)
9. การรวมเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในหน่วยการสอนเดียวกัน (Integrated Curricular)
10. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Interaction)
11. การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
12. การสอนโดยใช้อุปกรณ์จำลอง (Simulation Technique)
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
14.การเรียนระบบควบคุมด้วยตนเองใช้บทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง(Instruction Module) ต้องผ่านวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบทเรียนก่อนที่จะเรียนบทต่อไป
15. โทรทัศน์ช่วยสอน (Instruction Television)
16. โทรทัศน์เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้วยการศึกษา (Educational Television)
17. เครื่องช่วยสอน (Teaching Machines)
18. วิทยุช่วยสอน (Radio Broadcast)

หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
            1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
            1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
            1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4. ทฤษฎีการเผยแพร่

1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา 

1.1    ทฤษฎีการเรียนรู้   ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ 
 1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)  
       2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)

ความสำคัญแนวคิดและทฤษฎีเทคโนโลยีฯ


1)           ผู้เรียนในการศึกษาภาคบังคับมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น 
ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษามีมากขึ้น ทำให้จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้น นวัตกรรมทางการศึกษาสามารถ สอนนักเรียนได้มากขึ้นโดยใช้เวลาที่น้อยลง
2) สาระเนื้อหาที่เปิดกว้างมากกว่าในชั้นเรียน
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ที่ไว รวดเร็วขึ้น ชัดเจนมากขึ้น มีมุมมองที่หลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น
3) ผู้เรียนมีอิสระในการเข้าถึงและเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผุ้เรียนสามารถเข้าถึงมวลความรู้ได้เองผ่านทางอินเทอรืเน็ต หรือสื่อ CD-Rom ประเภทต่างๆ 

4) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นส่วนผลักดันให้ผุ้เรียนมีการใช้นวัตกรรมต่างๆมากยิ่งขึ้น
จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทั้งคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่าย ส่งผลให้ราคาอุปกรณ์ถูกลง ประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้มีความสามารถเข้าถึงช่องทางแหล่งเรียนรู้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น สาระเนื้อหาที่มีอยู่บนเครือข่ายตอบสนองความเป็นมัลติมีเดียที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทำให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอีกช่องทางของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกช่องทางหนึ่ง ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ ในทุกที่ ทุกเวลา สำหรับทุกคน (Any where, Any time for Everyone )
การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา ในปัจจุบันเป็นนี้ไปอย่างกว้างขวาง ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นทั้งตัวสื่อกลางในการเรียนรู้ ในการเข้าถึงองค์ความรู้ เป็นทั้งเครื่องมือสำคัญของครูในการสร้างสื่อ การเรียนการสอน นำทางไปสู่การจัดการศึกษายุคโลกาภิวัตน์ที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการเกิดหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดของแนวคิดและทฤษฎีเทคโนโลยีฯ
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม 
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
2)              - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
  - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
   - เครื่องสอน (Teaching Machine)
   - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
   - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
   - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
    -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
    - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
    - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
    - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ

·         ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้
·         สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
·         การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่

·         เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การ์ตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา
·         ความอยากรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
·         บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
·         กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
·         เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
·         การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
·         การฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
·         การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
·         การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
·         การนำไปใช้ กับงานที่ทำในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น