ยินดีต้อนรับ! เข้าสู่เว็บบล็อก คราฟ :) ขอบคุณสำหรับการแวะเข้ามาเยี่ยมชม!!

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หน่วยที่1

นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
            นวตกรรม หรือ นวกรรม  มาจากคำว่า
            “นว”    หมายถึง   ใหม่
            “กรรม”            หมายถึง  การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้
ทอมัส  ฮิวช์ (Thomasl Hughes, 1971 อ้างถึงใน  ไชยยศ  เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้ความหมายของ คำว่า นวกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention)  พัฒนาการ (Development)  ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)  แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า  นวกรรม (Innovation)”
            มอตัน (Morton, J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13)  ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ Organising for Innovation  ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal)  ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
          จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
            โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา

ตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ

  การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
               การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Trainning) เป็นต้น
การเผยแพร่ คือ ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่  ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำ งานนั้น ได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลา ทรัพยากรและแรงงานได้ด้วย ข้อจำกัด ของการใช้นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หรือ เป็นการรวมของ สิ่งเก่าและสิ่งใหม่นำมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากไม่มีการวิจัยหรือทดลองนำมาใช้อาจทำให้เกิดความผิดพลาดหรือไมีมีความน่าเชื่อถือ จนอาจจะถูกปฏิเสธนวัตกรรมนั้นได้
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT)
ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าว สารมาทำการ ประมวล ผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่ง การให้ทำงานได้ ถูกต้องตามเป้า หมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณ ค่าของเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ วันของชาวโลกคือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ใน โลกเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (Protocol) อย่างเดียวกันที่เรียกว่า TCP/IP อินเทอร์ เน็ตเป็นปรากฏการณ์ของคำว่า "โลกาภิวัฒน์" (Globalization) ที่เป็นรูปธรรม โลกทั้งโลกสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใด ในทางการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็นการเปิดกว้างของ การให้โอกาสในการศึกษาหาความรู้อย่างไม่เคยมีมาก่อน และเป็นการเปิดโอกาสที่ให้เกิดความเท่า เทียมสำหรับทุกคน ที่สามารถจะเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ลองนึกถึงความจริงที่ว่าเด็กไทยที่ อยู่บนดอยในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็สามารถหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตได้เท่าเทียมกันกับเด็กอเมริกัน ที่นิวยอร์ค และเท่ากับเด็กญี่ปุ่นที่โตเกียว อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งสะสมความรู้หรือที่บางคนเรียกว่า"ขุมทรัพย์ความรู้"เพราะในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ต่อ เชื่อมอยู่กับอินเทอร์เน็ตนั้น ต่างก็มีข้อมูลสะสมไว้มากมาย และวิธีให้บริการบนอินเทอร์เน็ตก็ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างง่ายดาย ถ้าเจ้าของข้อมูลยอมเปิดให้เป็นข้อมูลสาธารณะ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเป็นข้อมูลที่ไม่มีการกลั่นกรอง ไม่มีการ รับรองความถูกต้อง ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และนำมาใช้เฉพาะข้อมูลที่เป็นประโยชน์เท่านั้น อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาในยุคอินเทอร์เน็ตนั้นคือ การเรียนรู้ที่จะแยกแยะและกลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาเรียบเรียงและจัดระบบขึ้นเป็นความรู้ ขณะนี้มีงานวิจัยซึ่งพยายามสร้างกระบวนการอัตโนมัติ (โดยใช้คอมพิวเตอร์) ของการค้นหาข้อมูล(จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) และนำมาเรียบเรียงขึ้นเป็นความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ผู้ใช้สามารถระบุได้ ศาสตร์ใหม่แขนงนี้มีชื่อเรียกว่า วิศวกรรมความรู้(Knowledge Engineering) ซึ่งมีการบริการ World Wide Web (WWW.) เป็นวิธีการให้บริการข้อมูลแบบหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นวิธี การที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้ โดยอาศัยสมรรถนะที่สูงขึ้นมากของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ 
ความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
            ในโลกของโลกาภิวัตน์ระบบสารสนเทศเป็นเช่นสถานที่ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมจำแนกและนำเข้าสู่กระบวนการตีความสิ่งปลูกผลเพื่อที่จะให้ซีรีส์แบบบูรณาการข้อมูลเพิ่มเติมการสื่อสารและการวิเคราะห์ ในบรรยากาศทั่วโลกมีความก้าวหน้ามีชีวิตชีวามากขึ้นระบบสารสนเทศมีบทบาทเป็น 'enabler และบริการ' ซึ่ง endows ที่มีค่าทางยุทธวิธีเพื่อข้าราชการและขั้นตอนที่มากขึ้นเพื่อความเป็นเลิศในการบริหาร 'ระบบสารสนเทศเป็นประเภทเฉพาะของระบบงานที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกักวางบนอากาศจัดเก็บเรียกใช้จัดการหรือแสดงข้อมูลโครงสร้างพรรคจึงทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่ารายอื่น ๆ ใน totting ถึงการด้านการทำประเมินผลการประสานงานและการควบคุมระบบสารสนเทศอาจจะช่วยให้ผู้จัดการและผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบปัญหาที่ซับซ้อนมองเห็นและสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ 

         ระบบการทำงานและระบบสารสนเทศที่สนับสนุนโดยปกติจะได้รับอย่างน้อยสี่ขั้นตอนคือการเริ่มต้น), กระบวนการของการกำหนดความต้องการที่จะเปลี่ยนการทำงานที่มีอยู่ในระบบข) การพัฒนากระบวนการในการแสวงหาและการกำหนดค่า / การติดตั้งฮาร์ดแวร์ที่จำเป็น, ซอฟแวร์และอื่น ๆ แหล่งข้อมูล c) การดำเนินงานขั้นตอนการทำระบบใหม่ในการดำเนินงานในองค์กรและการดำเนินงาน d) และการบำรุงรักษากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบการแก้ไขปัญหาใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและทำให้มั่นใจว่าระบบจะส่งผลประโยชน์ที่คาดการณ์ไว้ การจัดการของกระบวนการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้และควบคุมโดยใช้ชุดของเทคนิคและเครื่องมือในการจัดการซึ่งเรียกโดยรวมมีแนวโน้มที่จะรู้จักกันเป็นระเบียบวิธีเชิงโครงสร้าง สองวิธีการที่สำคัญ: i ¶ PRINCE (โครงการในสภาพแวดล้อมการควบคุม) และฉัน¶ Ssadm (วิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างและวิธีการออกแบบ) พัฒนาโดย Computing กลางและหน่วยงานโทรคมนาคม (CCTA), มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในภาครัฐและใน UK บางประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นประเทศบังคลาเทศ, ปากีสถาน, เนปาล ฯลฯ ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นในการประยุกต์ใช้วิธีการเหล่านี้ในประเทศกำลังพัฒนาก็จะเกี่ยวข้องกับการอธิบายเค้าร่างคร่าวๆของวิธีการเหล่านี้ 
PRINCE เป็นวิธีการจัดการโครงการการพัฒนาระบบไม่ได้ซึ่งครอบคลุมองค์กรการบริหารจัดการและการควบคุมของโครงการ ตั้งแต่การแนะนำในปี 1989, ปรินซ์ได้กลายเป็นใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในภาครัฐและเอกชนและเป็นมาตรฐาน de facto UK สำหรับการจัดการโครงการ แม้ว่า PRINCE ถูกพัฒนามาสำหรับความต้องการของโครงการ IT, วิธีการได้รับการใช้ในโครงการที่ไม่ใช่ไอทีมาก PRINCE ต้องการทีมงานที่จะจัดตั้งขึ้นในการจัดการและดำเนินการแต่ละโครงการ มันจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กรอบการสนับสนุนระหว่างสถานะปัจจุบันของกิจการและรัฐในอนาคตที่วางแผนไว้ PRINCE เน้นความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เอนด์มากกว่ากิจกรรมเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจริงได้รับสิ่งที่ต้องการออกจากโครงการ คุณภาพถูกมองว่าเป็นส่วนที่จำเป็นและสำคัญของโครงการและมุ่งเน้นการสิ้นผลิตภัณฑ์ช่วยให้เกณฑ์ที่มีคุณภาพคือการได้รับการตัดสินให้มีการระบุที่เริ่มแรกของโครงการ มันต้องมีการพัฒนาจากการทำงานได้ "กรณีธุรกิจ" สำหรับโครงการที่เริ่มแรกของมันและว่ากรณีธุรกิจจะต้องดูเป็นระยะ ๆ 
เกี่ยวกับการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา
 นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ได้แก่
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมการศึกษา
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog
4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์ และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์
ความสำคัญต่อประเทศ
 นวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อประเทศหลายประการดังนี้
1)  การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาการนวัตกรรมด้านต่าง ๆ จะทำให้ประเทศชาติเจริญยิ่งขึ้น เช่น การใช้ใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกรวดเร็ว มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องซักผ้า ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ตัวอย่างการใช้รีโมทเพื่อความสะดวกในการควบคุมโทรทัศน์
2)  การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส  นวัตกรรมจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้มีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
3)  การเรียนการสอนในสถานศึกษา ในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้   เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษามากขึ้น
4)  การรักษาสิ่งแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีหลาย ๆ ด้าน เช่น เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม   การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่า    โทรมาตร เป็นต้น
5)  การป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยี เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์  การสื่อสาร อุตสาหกรรม ฯลฯ เช่น ระบบควบคุม ระบบป้องกันภัย และ ระบบเฝ้าระวัง
6)  การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและมีราคาที่ถูกลง นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ จะเข้ามามีบทบาทมาก นอกจากนี้ยังมีการใช้นวัตกรรมการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
7)  ความคิดและการสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ  มีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สามารถสิ่งเหล่านั้นไปพัฒนาสิ่งต่างๆ ต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ต่อไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากนัก  ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง
สิ่งใดที่มีประโยชน์และความสำคัญ ย่อมต้องมีผลกระทบต่อประเทศชาติและสังคม ทั้งในทางบวก และทางลบ

ผลกระทบในทางบวก
ผลกระทบต่อประเทศชาติและสังคมมีหลายประการซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ผลกระทบนวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีในทางบวกหรือทางที่ดีนั้นมีดังนี้
1) ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน เช่นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มนุษย์รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงภัยกับงานที่มีอันตราย มีเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ทำให้ติดต่อถึงกันได้สะดวก มีระบบคมนาคมขนส่งที่รวดเร็ว สามารถติดต่อสื่อสารได้ในขณะเดินทางไปยังที่ต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2) ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น ระบบการผลิตสินค้าในปัจจุบันเป็นระบบที่ต้องการผลิตสินค้าจำนวนมาก มีคุณภาพมาตรฐาน การผลิตในสมัยปัจจุบันใช้เครื่องจักรทำงานอย่างอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง สินค้าที่ได้มีคุณภาพดีและปริมาณพอเพียงกับความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในอุตสาหกรรมการผลิต การนำพลังงานรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การจัดการเรื่องโลจิสติกส์  การนำผลิตภัณฑ์เก่าใช้แล้วไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล  และอื่น ๆ อีกมากมาย
3) ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ทำให้ประเทศชาติได้มีนักวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าสมัยก่อน  โดยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ช่วยให้งานค้นคว้าวิจัยมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์ช่วยงานคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งแต่ก่อนยากที่จะทำได้ เช่นงานสำรวจทางด้านอวกาศ งานพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์และสารเคมีต่างๆ ทำให้ได้สูตรยารักษาโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัจจุบันงานค้นคว้าวิจัยทุกแขนงจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณต่างๆ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ในการจำลองรูปแบบของสิ่งที่มองไม่เห็นตัว ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่มีจำนวนมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก สามารถค้นหารายงานวิจัยที่มีผู้เคยทำไว้แล้วและที่เก็บไว้ในห้องสมุดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว งานวิจัยด้านต่างๆ มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพราะเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่อย่างมาก
4) ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยี มาช่วยงานทางด้านการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นอีกมาก ปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ล้วนแล้วแต่ใช้คอมพิวเตอร์และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยในการดำเนินการ ช่วยในการแปลผล มีเครื่องมือตรวจหัวใจที่ทันสมัย มีเครื่องเอกซเรย์ภาคตัดขวางที่สามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด มีเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจค้นหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่ทันสมัย หรือแม้แต่การผ่าตัดก็มีเครื่องมือช่วยในการผ่าตัดที่ทำให้คนไข้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีเครื่องมือที่วัดและตรวจสอบสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างละเอียด ระบบการรักษาพยาบาลจากที่ห่างไกล เช่น คนไข้อยู่ที่จังหวัดชายแดนและขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง แพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถส่งคำถามมาปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะได้ มีการรวบรวมความรู้ของแพทย์ผู้ชำนาญการจัดสร้างเป็นฐานความรอบรู้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องมือช่วยคนพิการต่างๆ เช่น การสร้างแขนเทียม ขาเทียม การสร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจ สร้างเครื่องช่วยฟังเสียง หรือมีการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญต่างๆ รวมทั้งการผลิตยา และวัคซีนสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเข้าช่วยด้วย
5) ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ คอมพิวเตอร์มีจุดเด่นที่ทำให้การทำงานต่างๆ รวดเร็ว มีความแม่นยำ และสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้ได้มาก การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนบางอย่างกระทำได้ดี และรวดเร็ว งานบางอย่างถ้าให้มนุษย์ทำอาจต้องเสียเวลาในการคิดคำนวณตลอดชีวิต แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเสร็จในเวลาไม่กี่วินาที ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อให้มนุษย์หาทางศึกษาหรือแก้ไขปัญหา เช่นการจำลองสภาวะของสิ่งแวดล้อม การจำลองระบบมลภาวะ การจำลองการไหลของของเหลว การควบคุมระบบจราจร หรือแม้แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาจำลองในสภาพที่เหมือนจริง เช่น จำลองการเดินเรือ จำลองการขับเครื่องบิน การขับรถยนต์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เหมือนจริงได้ หากมีการผิดพลาดก็ไม่ทำให้เกิดอันตราย คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเรียนรู้ของมนุษย์ได้ดี ปัจจุบันมีการนำบทเรียนมาไว้ในคอมพิวเตอร์ และให้เรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Instruction : CAI) คอมพิวเตอร์ยังเป็นเครื่องมือที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาสมัยใหม่ เชื่อมโยงติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต สามารถเรียกค้นข้อมูลข่าวสารผ่านทางเครือข่าย สามารถเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์หรือเรียนจากที่ห่างไกลได้ คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่ทำให้มนุษย์ได้รับข่าวสารมากขึ้นกว่าเดิม และเป็นหนทางที่ทำให้เกิดสติปัญญาอย่างแท้จริง
6) นวัตกรรมทางการจัดการเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง  ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรม กิจการค้าขาย ธุรกิจต่างๆ กิจการทางด้านธนาคาร ช่วยส่งเสริมงานทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้กระแสเงินหมุนเวียนได้อย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตในสายอุตสาหกรรมจะผลิตสินค้าได้มาก ลดต้นทุน ธุรกิจอาศัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน เกิดระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า อีดีไอ (Electronic Data Interchang : EDI)
7) ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ช่วยย่อโลกให้เล็กลง สังคมโลกมีสภาพไร้พรมแดน มีการเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกันมากขึ้น เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ดี ทำให้ลดปัญหาในเรื่องความขัดแย้ง
8) ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกครั้ง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระจายข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของระบบประชาธิปไตย แม้แต่การเลือกตั้งก็มีการใช้คอมพิวเตอร์รวมผลคะแนน ใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุแจ้งผลการนับคะแนนที่ทำให้ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว




ขั้นตอนการเกิดหรือกำหนดของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
การจัดการเทคโนโลยี  คือ  วิธีการ  กระบวนการ  ในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบ  เพื่อพัฒนาผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษย์ได้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล  ประหยัด  และเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน      การจัดการเทคโนโลยี  คือการผสมผสาน  หรือองค์รวม  หรือจะเรียกว่าการบูรณาการก็ได้  เพราะจะต้องนำศาสตร์สาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมตลอดจนการจัดการเข้าด้วยกัน  เทคโนโลยี เป็นฐานปัจจัยหลักในการพัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์  แต่ทั้งนี้ต้องให้คำนึงถึงปัจจัยอีกประการ  คือการเพิ่มระดับความรู้  (Enhancement  of  Knowledge)  ทุนทางปัญญา  (Intellectual  Capital)  การใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า  (Effective  Exploitation  of Resource)  การรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ       การจัดการนี้จะ ต้องมีการจัดการที่เป็นระบบและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การจัดการเทคโนโลยี  จะต้องประกอบด้วยความรู้ที่จำเป็นสำหรับการบริหารเทคโนโลยี  หลายองค์ประกอบ เช่น   กลยุทธ์ระยะยาวทางเทคโนโลยี    นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                ขบวนการทางนวัตกรรมเทคโนโลยี     การจัดการการวิจัยและพัฒนา    สิ่งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี   เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจขนาดย่อยและความเสี่ยง                วงจรชีวิต  ขบวนการและผลิตผล     การพยากรณ์เทคโนโลยีและการวางแผน   นวัตกรรมเทคโนโลยีและการวางแผนกลยุทธ์     การถ่ายโยงเทคโนโลยี   การถ่ายโยงเทคโนโลยีสู่สากลและบทบาทความร่วมมือระหว่างประเทศ        การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางเทคโนโลยีและการประเมิน                การวิเคราะห์เศรษฐกิจ  มนุษย์  สังคม และเทคโนโลยี     สาระวัฒนธรรม  มนุษย์  สังคม และเทคโนโลยี    สาระการศึกษาและการฝึกอบรมในการจัดการเทคโนโลยี   การจัดการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการผลิต       การจัดการเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการบริการ  เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีอื่นๆ         การตลาด  การผลิต  และภายหลังการเชื่อมโยงการตลาด  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและโครงสร้างองค์กร      เทคโนโลยีการเงินและการตัดสินใจทางการเงิน                 สาระ  คุณภาพ  และผลผลิต       วีธีการจัดการเทคโนโลยี     การไม่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแนวความคิด  และแนวทางที่เป็นข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเทคโนโลยี  เป็นการประยุกต์ใช้ที่เชื่อมโยงระหว่างวิชาทางวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  และการจัดการเข้ามาไว้ด้วยกัน  ผสมผสานบูรณาการแบบองค์รวมให้ผลในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป    การจัดการเทคโนโลยี  เป็นศาสตร์ที่บูรณาการศาสตร์หลายสาขาเข้าด้วยกัน และมีบทบาทในการแสวงหาความเจริญทางเทคโนโลยีหลายด้าน  เช่น  การแข่งขัน  และโอกาสทางธุรกิจ  การพัฒนาระบบการผลิตในงานอุตสาหกรรม  การบริหาร  ตลอดจนการบริหารโครงสร้างองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ดังนั้นหากผู้บริหารประเทศและประชาชนในประเทศร่วมกันส่งเสริม เสริมสร้าง องค์ความรู้ หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างยิ่ง และต้องร่วมกันมุ่งเน้นร่วมมือกันพัฒนาความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี ควรมีการกำหนดนโยบายโดยคำนึงถึงสภาวะที่ต้องแข่งขัน  ระบบสาธารณูปโภครวมถึงการจัดการด้านวิจัยและพัฒนา 

นวัตกรรมคือ สิ่งใหม่ ที่เกิดจาก การใช้ ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม  เป็นกระบวนการการผลิต การเรียนรู้ การจัดการความรู้ หรือการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการกระบวนการผลิตใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม
วิธีการสร้างนวัตกรรม สามารถหลายวิธี เช่น  หาวัสดุมาทดแทน   คิดแบบกลับทาง   จับมารวมกัน    หาวิธีใหม่   เลิกใช้หรือกำจัดออก  จัดแถวจัดกลุ่มใหม่    
ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมกับเทคโนโลยี
นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร
เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา [1] หรือ เทคนิควิทยา [2] มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น [2]
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์(คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา
Descripción: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e6/Wheel_Iran.jpg/220px-Wheel_Iran.jpg
Descripción: http://bits.wikimedia.org/static-1.20wmf5/skins/common/images/magnify-clip.png
ล้อ เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
1.            เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2.            เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น